ประวัติ สโมสร Leicester City จิ้งจอกสยาม เป็นทีมของเจ้าสัววิชัย เล่นเมามัน จนเป็นทีมที่น่าสนใจ

BALLVAR

Leicester เป็นอีกหนึ่งทีมสโมสรฟุตบอลอังกฤษ แต่ความภาคภูมิใจมาถึงคนไทยด้วย ส่วนหนึ่งมาจากเจ้าของสโมสรตอนนี้เป็นของคนไทย 100% ยิ่งซีซั่นนี้พวกเค้าสามารถคว้าถ้วยแชมป์เอฟเอคัพประจำซีซั่นมาได้อีก ยิ่งทำให้เราปลาบปลื้มใจเข้าไปใหญ่ แต่กว่าจะมาถึงตรงนี้ได้ เลสเตอร์ ซิตี้เองก็ต้องดิ้นรนไม่แพ้กัน เรื่องราวของพวกเค้าเป็นมาอย่างไร เราไปย้อนดูกัน

ข้อมูล

ชื่อสโมสร สโมสรฟุตบอลเลสเตอร์ ซิตี้ ฉายา the foxes (ภาษาไทย จิ้งจอกสีน้ำเงิน, จิ้งจอกสยาม) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1884 สนามเหย้าปัจจุบันชื่อว่า คิง เพาเวอร์ สเตเดี้ยม ความจุของสนาม 32,500 ที่นั่ง เจ้าของปัจจุบันกลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์ ประธานสโมสร อัยยวัฒน์ ศรีวัฒนประภา  ผู้จัดการทีมคนปัจจุบัน เบรนแดน ร็อดเจอร์ส

Leicester

ประวัติช่วงก่อตั้ง

Leicester สโมสรแห่งนี้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1884 ก่อตั้งขึ้นจากนักบวชกลุ่มหนึ่งที่เรียนและเติบโตมาด้วยกันที่โรงเรียนชื่อว่า วิกเกสตน จากนั้นพวกเค้าก็มีความคิดจะก่อตั้งสโมสรฟุตบอลขึ้นมา จากนั้นก็ลงมือทำเลยด้วยการรวมตัวลงขันรวมเงินกัน แล้วก็ตั้งคณะกรรมการบริหารทีมขึ้นมา ตอนก่อตั้งนั้น ผู้ร่วมก่อตั้งลงทุนเพียงคนละ 9 เพนซ์เท่านั้นเพื่อไปซื้อลูกฟุตบอล ส่วนชื่อสโมสรนั้นตอนแรกชื่อว่า สโมสรเลสเตอร์ ฟอลส์ เอฟซี เป็นชื่อที่เอามาจากถนนเก่าแก่ในยุคอาณาจักรโรมัน แต่การก่อตั้งในยุคแรกของพวกเค้ามีปัญหาเรื่องที่ตั้งของสนาม ที่ยังหาจุดลงหลักปักฐานได้ไม่ชัดเจนเท่าไรนัก กว่าจะมาลงตัวก็ปี 1891 พวกเค้าได้ลงหลักปักฐานที่ ฟิลเบิร์ต สตรีท พร้อมกับยกระดับทีมจากการแข่งแบบสมัครเล่น จนถึงกึ่งอาชีพ มาเป็นแบบอาชีพเต็มตัว ตอนแรกพวกเค้าใช้ชุดแข่งเป็นสีดำสลับกับสีฟ้าอ่อน ก่อนจะเปลี่ยนมาเป็นชุดสีน้ำเงินขาว ในเวลาต่อมา

Leicester

การเปลี่ยนแปลง

ทีนี้จากภาวะสงครามโลก และหนี้สินของสโมสรที่รุมเร้าทำให้สโมสรไม่มีทางเลือก ต้องเกิดการเปลี่ยนแปลงเพื่อไม่ให้สโมสรล้มละลาย ทางออกของปัญหานี้ก็คือ การปล่อยให้มีกลุ่มทุนเข้ามาซื้อกิจการ เพื่อพยุงสถานะของทีมเอาไว้ ซึ่งก็ทำได้สำเร็จ พร้อมกับเปลี่ยนชื่อเป็น สโมสรเลสเตอร์ ซิตี้ ในปี 1919 การเข้ามาของกลุ่มทุนทำให้เลสเตอร์ ซิตี้ เหมือนกลับมาได้เกิดใหม่ ตอนนั้นเล่นอยู่ลีคดิวิชั่นสอง ก็สามารถคว้าแชมป์ได้ถึง 7 ครั้ง  สามารถไปได้ถึงรอบ 8 ทีมสุดท้ายของฟุตบอลยุโรปกันเลยทีเดียว แต่วันเวลาอันสวยงามต้องมีจุดสิ้นสุดเมื่อพวกเค้าต้องตกชั้นอีกครั้งในซีซั่น 1935-1936 แม้ว่าจะกลับมาดิวิชั่น 1 ได้เร็วภายในปีเดียว แต่ก็ต้องตกลงไปอีก พร้อมกับหยุดพักแข่งจากภาวะสงครามโลกครั้งที่สอง แม้ว่าสงครามจะจบแล้ว เลสเตอร์ ก็เหมือนเดิมก็คือขึ้นๆลงๆวนเวียนอยู่อย่างนี้

Leicester

การเข้ามาของกลุ่มทุน

หลังจากผ่านช่วงต้นสหัสวรรษมาได้ เลสเตอร์ ซิตี้ เจอกับการเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง คราวนี้เป็นการเข้ามาซื้อกิจการของกลุ่มทุนจากไทย โดยบริษัท คิง เพาเวอร์ หลังจากการเทคโอเวอร์เสร็จสิ้น กลุ่มทุนใหม่อย่าง คิง เพาเวอร์ ก็ได้มีการปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานของทีม แนวทางการบริหารที่ไม่ได้มุ่งเน้นความสำเร็จอย่างเดียว แต่เน้นการเติบโตอย่างยั่งยืนควบคู่กันด้วย ส่วนในสนามมีการนำวิทยาศาสตร์การกีฬาเข้ามาช่วยพัฒนาศักยภาพของทีม แม้ว่าจะต้องตั้งหลักกันอยู่นาน สุดท้าย เลสเตอร์ ซิตี้ ก็กลับขึ้นมาลีคสูงสุดของประเทศอย่างพรีเมียร์ลีคได้ในซีซั่น 2014-2015 พร้อมกับอยู่รอดตายได้แบบปาฏิหาริย์อีกด้วย ก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงผู้จัดการทีมเป็น เคลาดิโอ รานิเอรี่ พร้อมกับนำเข้า เจมี่ วาร์ดี้ ศูนย์หน้าจากนอกลีค นั่นทำให้ ซีซั่น 2015-2016 เลสเตอร์ ซิตี้ ได้สร้างเทพนิยายของตัวเองด้วยการทะลุไปได้ถึงแชมป์พรีเมียร์ลีค แบบหักปากกาเซียนทุกสำนัก จนกลายเป็นตำนานเล่าขานมาจนถึงทุกวันนี้

LeicesterLeicester

เลสเตอร์

Next Post

ประวัติ สโมสรฟุต FC Bayern München เสื้อใต้แห่งเยอรมนี ทีมร้อนแรงแซงทุกลีก

Bayern München หากเราจะพูดถึงฟุตบอลเยอรมัน ต้องยอมรับว่า บาเยิร์น มิวนิค คือทีมที่อยู่บนจุดสูงสุดของยอดปิรามิดแบบที่ห่างจากทีมอันดับสองและสามไปหลายช่วงตัวเลย อาจจะมีบ้างที่บางทีมขึ้นมาต่อกรท้าชิงแชมป์ไปได้ แต่ก็ทำได้เพียงแค่ 1-2 ซีซั่นเท่านั้น บาเยิร์น มิวนิค ก็กลับมากระชากคืนไปได้อย่างรวดเร็ว เรื่องราวของพวกเค้าเป็นมาอย่างไรบ้าง เราจะมาเล่าให้ฟังกันสักหน่อย ข้อมูลของทีม Bayern München ฉายาของทีม Der FCB (แปลว่า พวกเค้าคือ แฟนบอลบาเยิร์น) Die Bayern (นักรบบาวาเรีย เนื่องจากทีมตั้งอยู่ในแคว้น บาวาเรีย) Die Roten (แปลว่าสีแดง) ก่อตั้งสโมสรขึ้นเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 1900 สนามเหย้าชื่อว่า อัลลิอันซ์อารีน่า ความจุสนาม 75,000 คน ประธานสโมสร แฮร์แบร์ท ไฮเนอร์ ซีอีโอของทีม โอลิเวอร์ คาห์น(อดีตผู้รักษาประตูของทีม) ผู้จัดการทีม ยูลีอาน นาเกิลส์มัน […]

You May Like